มันก็คล้ายกับฟุตบอลโลกที่เมื่อถึงช่วงหนึ่ง ยุโรปก็กินเรียบ

จากที่สลับกันคว้าแชมป์มาตลอด ยุโรปก็เข้าเบรกหักหน้าละตินอเมริกาด้วยการคว้าแชมป์โลก 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2018

ปี 2014 คือจุดสูงสุดของยุโรป แชมป์โลกของเยอรมันไม่เพียงเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น หากยังเป็นนามธรรมด้วยสัญลักษณ์แห่งชัยชนะทั้งปวง

ได้แชมป์โลกบนแผ่นดินบราซิล ได้ชูโทรฟี่ที่มาราคาน่า สเตเดี้ยม ถล่มบราซิลในรอบรองชนะเลิศ เชือดอาร์เจนติน่าในนัดชิงชนะเลิศ และ มิโรสลาฟ โคลเซ่ ยังทำลายสถิติดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในฟุตบอลโลกของโรนัลโด้ R9

มันคือการเผด็จศึกแบบเด็ดขาด สานต่อความยิ่งใหญ่ของยุโรปเหนืออเมริกาใต้ขึ้นไปอีกหลังจากที่ดาหน้ากันเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2006 (อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน โปรตุเกส) ชิงกันเองและเข้ารอบตัดเชือก 3 ทีมในฟุตบอลโลก 2010 (สเปน ฮอลแลนด์ อุรุกวัย เยอรมัน)

แล้วสมัยต่อมาที่รัสเซีย 2018 ยุโรปก็ยังครองอำนาจ ดาหน้าเข้ารอบรองชนะเลิศครบทั้ง 4 ที่อีกครั้ง (ฝรั่งเศส โครเอเชีย เบลเยียม อังกฤษ)

จนกระทั่งครั้งล่าสุดที่กาตาร์ 2022 นั่นแหละที่อเมริกาใต้ทวงคืนกลับมาได้ด้วยแชมป์โลกของอาร์เจนติน่า

ในฟุตบอลโลกนั้นละตินกลับมาแล้ว แต่ในศึกยูโร.. ยุโรปตะวันออกยังไม่กลับมาเลย

—————–

ถ้าจะลองสังเกตกันดูอีกครั้ง ตัวแทนของยุโรปที่ฟาดฟันกับอเมริกาใต้ในฟุตบอลโลกก็ล้วนเป็นยุโรปฝั่งตะวันตกทั้งนั้น

เยอรมันได้แชมป์โลก 3 จาก 4 สมัยครั้งที่ยังเป็นเยอรมันตะวันตก อิตาลี 4 สมัย ฝรั่งเศส 2 สมัย สเปน 1 สมัย อังกฤษ 1 สมัย..

ไม่มีชาติจากฝั่งยุโรปตะวันออกก้าวขึ้นถึงตำแหน่งแชมป์โลกเลยแม้แต่ทีมเดียว

กระนั้นไม่มีแชมป์โลกไม่ได้หมายความว่ายุโรปตะวันออกไม่มีดี พวกเขาเคยมีทีมที่ดี เปี่ยมด้วยนักเตะมากความสามารถและมีพรสวรรค์

พวกเขาเคยมี เฟเรนซ์ ปุสกัส มี ซานดอร์ ค็อคซิส มี ลาสซ์โล คูบาล่า มี เลฟ ยาชิน มี โจเซฟ มาโซปุสต์ มี โจเซฟ บิคาน มี ดราแกน ซายิช มี อันโตนิน ปาเนนก้า มี ซบิ๊กนิว โบเนี้ยค มี เกอร์เซกอร์ซ ลาโต้ มี อีกอร์ เบลานอฟ มี ไรนาต ดาซาเยฟ

นักเตะระดับตำนานเหล่านี้เป็นเพียงแค่ขุนพลแห่งยุคสงครามเย็นของยุโรปตะวันออกเท่านั้น หากจะนับรวมกองทัพซีกขวาในยุครอยต่อและหลังการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาแล้ว ยุโรปตะวันออกยังมีนักฟุตบอลที่เป็นที่ภาคภูมิใจอีกมาก

ดราแกน สตอยโควิช, ดาร์โก้ ปานเชฟ, เดยัน ซาวิเซวิช, ซินิซ่า มิไฮโลวิช, เปแดร๊ก มิยาโตวิช แห่งยูโกสลาเวีย/เซอร์เบีย

ฮริสโต้ สตอยช์คอฟ, คราสซิเมียร์ บาลาคอฟ, ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ, ตริฟอน อิวานอฟ แห่งบัลแกเรีย

ดาวอร์ ซูเคอร์, โรเบิร์ต โปรซิเนชกี้, ซโวนิเมียร์ โบบัน, อเลน บ็อคซิช, ลูก้า โมดริช แห่งโครเอเชีย

พาเวล เนดเวด, มิลาน บารอส, คาเรล โพบอร์สกี้, พาทริค แบร์เกอร์ แห่งสาธารณรัฐเช็ก

จอร์จี้ ฮาจี้, มาริอุส ลาคาตุส, จอร์จี้ โปเปสคู แห่งโรมาเนีย

อังเดร เชฟเชนโก้, เซอร์เก เรบรอฟ แห่งยูเครน

และอื่น ๆ อีกมาก.. มาก ๆ

แต่ยุโรปตะวันออกก็ยังไปไม่ถึงดวงดาวสักทีในฟุตบอลโลก ใกล้เคียงที่สุดก็ในยุคสงครามเย็นนั่นแหละที่ฮังการีทะลุเข้าถึงนัดชิงฟุตบอลโลก 1954 ก่อนแพ้เยอรมันตะวันตกด้วยปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น

นั่นคือโอกาสใกล้เคียงที่สุดแล้วของ The Eastern Bloc ในเวทีฟุตบอลโลกเพราะเวลานั้นขุนพลเมจิกแม็กยาร์ได้ชื่อว่าเป็นหมายเลขหนึ่งของโลกตัวจริงเสียงจริง

ทีมอื่น ๆ ของฝั่งตะวันออกก็ทำหน้าที่ได้ดีเช่นกัน เชโกสโลวาเกีย กับ ยูโกสลาเวีย เข้าถึงรอบตัดเชือกฟุตบอลโลกที่ชิลีในปี 1962 โดยเชโกฯ เข้าไปแพ้บราซิลในนัดชิง ขณะที่ สหภาพโซเวียต เข้าถึงรอบตัดเชือกเวิลด์คัพ 1966 ที่อังกฤษ รวมไปถึงโปแลนด์ที่ได้อันดับสามฟุตบอลโลกปี 1974 และ 1982

แต่ก็นั่นล่ะครับ คำว่าแชมป์โลกสำหรับยุโรปตะวันออกนั้นยังเป็นเหมือนสิ่งที่เกินเอื้อมอยู่ดี พยายามอย่างไรก็ไม่สำเร็จ โดยเฉพาะช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาที่ชาติยุโรปตะวันออกเริ่มงอมพระราม เจอปัญหารุมเร้าจนกระทั่งนำมาสู่การล่มสลายของระบอบช่วงต้นทศวรรษ 1990 ในที่สุด

ฟุตบอลของพวกเขาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน มันสะท้อนบอกเราด้วยผลงานของพวกเขาในฟุตบอลโลกรวมทั้งเวทีชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป..

—————–

ยุโรปตะวันออก..

คำ ๆ นี้นั้น ความหมายของมันไม่เพียงเกี่ยวกับตำแหน่งแห่งที่ทางภูมิศาสตร์ หากยังลึกซึ้งกว่านั้นด้วยความแตกต่างทางสังคม การปกครอง และแนวคิดทางการเมือง

สงครามเย็นที่กินเวลายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษหลังจบสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ภาพนี้ชัดขึ้น คำว่า ตะวันออก กับ ตะวันตก จะไม่มีความแตกต่างกันสุดขั้วอย่างที่เป็นเลยถ้าไม่มีสงครามเย็น

มันทำให้โลกรู้จักคำแบ่งแยก ตะวันตก-ตะวันออก

Western bloc กับ Eastern bloc

เสรีนิยม กับ คอมมิวนิสต์

พี่ใหญ่อย่างอเมริกาและสหภาพโซเวียตที่ขยายอิทธิพลของตัวเองไปทั่วโลก กางปีกแผ่อิทธิพลผ่านระบอบการปกครอง แข่งขันกันทุกเรื่อง แนวคิด สังคม การเมือง เศรษฐกิจ กีฬา

แข่งกันไปจนถึงเรื่องอวกาศ

ปีกของฝั่งค้อนเคียวที่มีสหภาพโซเวียตเป็นพี่ใหญ่นั้นมี เยอรมันตะวันออก โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย และ แอลเบเนีย อยู่ในความดูแล ส่วน ยูโกสลาเวีย แยกตัวเป็นอิสระจากม่านเหล็กเพราะนายพล โจซิป ติโต้ แห่งดาวแดงกับ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียตขัดแย้งกันมากเกินไปจนถูกขับออกจากกลุ่มแต่ก็ยังถือว่าอยู่ในปีกนี้ด้วยความเป็นคอมมิวนิสต์

มองมันย้อนกลับไปในจุดของปัจจุบัน มันก็เป็นยุคที่คลาสสิกไม่ใช่เล่น การแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายในทุกเรื่อง ในกีฬาอย่างโอลิมปิกก็ฟัดกันเมามันแย่งกันเป็นเจ้าเหรียญทองระหว่าง สหภาพโซเวียต กับ สหรัฐฯ

ฝั่งขวามีขุนพลคู่ใจอย่าง เยอรมันตะวันออก ช่วยโกยเหรียญทองแข่งกับนักสู้จากฟากตะวันตกทั้งสหราชอาณาจักรและเยอรมันตะวันตก ผลัดกันบอยคอตต์ซีกละครั้งใน มอสโก 1980 และลอสแองเจลีส 1984 ก่อนจะกลับมาฉะกันอีกหนในโซล 1988 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย

เจอกันอีกทีในบาร์เซโลน่าเกมส์ 1992 สหภาพโซเวียตก็ไม่มีแล้ว กลายเป็น CIS ที่เป็นการรวมตัวเฉพาะกิจของบรรดาชาติใหม่ที่เพิ่งแยกตัวจากพี่ใหญ่โซเวียตก่อนจะแยกย้ายกันไปตามทางของแต่ละคน

สงครามเย็นสิ้นสุด คอมมิวนิสต์ไม่มีแล้ว โลกก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ตะวันตกกับตะวันออกหลอมหลวมกันกลายเป็นหนึ่งในทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ แตกต่างกันเพียงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เท่านั้น

กับฟุตบอลแล้ว ยุโรปตะวันออกในยุคปัจจุบันเห็นจะมี โครเอเชีย ที่อยู่ใกล้ความสำเร็จชนิดสามารถจับต้องได้ที่สุด แต่มันก็เป็นยุโรปตะวันออกยุคใหม่ที่ไม่มีไอกรุ่นแห่งความตึงเครียดของสงครามเย็นปกคลุมอยู่อีกต่อไป ความรู้สึกในแบบเดิม ๆ ไม่มีอีกแล้ว

——————-

สำหรับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปนั้น ยุโรปตะวันออกเคยใหญ่มาก่อน

ก็ในยุคที่สงครามเย็นยังคงร้อนระอุนั่นแหละ การแข่งขันที่ขยายวงกว้างไปในทุก ๆ เรื่องแผ่คลุมไปถึงการกีฬาด้วย การกีฬาของชาติยุโรปตะวันออกพัฒนาสู่จุดสูงสุด และถ้าทีมอย่าง ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต สามารถไปได้ไกลในฟุตบอลโลก ก็ไม่มีเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจะทำไม่ได้ดีในระดับชิงแชมป์ทวีป

ในยุคที่ศึกยูโรยังคัดเอาทีมเข้ารอบสุดท้ายแค่ 4 ชาติ ยุโรปตะวันออกไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในจำนวนที่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 2 ทีม

ปี 1960 เข้ารอบสุดท้าย 3 ชาติ และกวาดอันดับ 1-3 (โซเวียต ยูโกสลาเวีย และ เชโกสโลวาเกีย) ส่วนฝั่งตะวันตกคือ ฝรั่งเศส

ปี 1964 เข้ารอบสุดท้าย 2 ชาติ โซเวียตได้รองแชมป์ ฮังการีได้อันดับ 3 (สเปนเป็นแชมป์ และเดนมาร์กได้อันดับ 4)

ปี 1968 เข้ารอบสุดท้าย 2 ชาติ ยูโกสลาเวียได้รองแชมป์ โซเวียตได้อันดับ 4 (อิตาลีเป็นแชมป์ และอังกฤษได้อันดับ 3)

ปี 1972 เข้ารอบสุดท้าย 2 ชาติ โซเวียตได้รองแชมป์ ฮังการีได้อันดับ 4 (เยอรมันตะวันตกเป็นแชมป์ และเบลเยียมได้อันดับ 3)

ปี 1976 เข้ารอบสุดท้าย 2 ชาติ เชโกสโลวาเกียได้แชมป์ ยูโกสลาเวียได้อันดับ 4 (เยอรมันตะวันตกได้รองแชมป์ และฮอลแลนด์ได้อันดับ 3)

แชมป์ยุโรปของ เชโกสโลวาเกีย เหนือ เยอรมันตะวันตก ในปี 1976 อาจจะเป็นจุดกำเนิดของปาเนนก้าชิพอันลือลั่นและยังคงมีอิทธิพลในวงการมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ในอีกทางหนึ่งมันคือจุดสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ของฟุตบอลยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน

เพราะนับจากความเรืองโรจน์ที่เบลเกรดในวันนั้นแล้ว ก็ไม่เคยมีทีมจากยุโรปตะวันออกชาติไหนก้าวขึ้นไปถึงตำแหน่งแชมป์อีกเลย..

(ในทางภูมิศาสตร์เราอาจจะนับ กรีซ กับ ตุรกี อยู่ในฝ่ายยุโรปตะวันออกได้ แต่ในทางการเมือง 2 ประเทศนี้เลือกอยู่กับแนวทางฝั่งตะวันตกในช่วงสงครามเย็น)

ศึกยูโรปรับเพิ่มทีมในรอบสุดท้ายจาก 4 ชาติเป็น 8 ชาติตั้งแต่ปี 1980 เป็นช่วงที่ Eastern Bloc เริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยก่อนการล่มสลายพอดี ฟุตบอลจากโลกหลังม่านเหล็กหัวหกก้นขวิดถูกฝั่งตะวันตกแซงหายเอาในช่วงนี้นี่เอง

4 สมัยที่ศึกยูโรคัด 8 ชาติเข้ารอบสุดท้าย มีเพียงปี 1984 (ยูโกสลาเวีย กับ โรมาเนีย) ครั้งเดียวที่ยุโรปตะวันออกผ่านมาเล่นได้มากกว่า 1 ทีม ที่เหลืออีก 3 ครั้งผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้แค่ชาติเดียวเท่านั้น (เชโกสโลวาเกีย 1980 สหภาพโซเวียต 1988 และ ซีไอเอส 1992)

จากอัตราส่วน 2 ใน 4 หรือ 50 เปอร์เซนต์ กับ 3 ใน 4 หรือ 75 เปอร์เซนต์ในยุค 1960 กับ 1970 ทีมลูกหนังยุโรปตะวันออกหายเกือบเกลี้ยงเหลือเพียง 2 ใน 8 หรือ 1 ใน 4 (25 เปอร์เซนต์) กับ 1 ใน 8 (12.5 เปอร์เซนต์) เท่านั้นในรอบสุดท้าย

เชโกสโลวาเกียได้อันดับ 3 ในปี 1980 ขณะที่ยูโร 1984 คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ 4 ทีมสุดท้ายไม่มีชาติยุโรปตะวันออกผ่านเข้ามาเลย

ปี 1988 โซเวียต ดิ้นเฮือกสุดท้ายเข้าไปเป็นรองแชมป์ ถือเป็นการไว้ลาย USSR ที่ยิ่งใหญ่ก่อนจะล่มสลายในที่สุดเมื่อถึงปี 1991

CIS ตกรอบแรกยูโร 1992 และจากนั้นโลกลูกหนังก็หลอมรวมเข้ากับสังคมใหญ่ ไม่มีอีกแล้วแนวคิดที่แตกต่างกัน 2 ขั้วอย่างยุคสงครามเย็น ชาติที่เป็นยุโรปตะวันออกทั้งที่อยู่มาเก่าก่อนและเพิ่งเกิดใหม่ต่างดำเนินชีวิตของตัวเองกันไป

บางชาติรุ่งเรือง ไปได้ดี บางชาติยังเต็มไปด้วยปัญหา มีอะไรอีกมากมายให้ต้องทำ

กับฟุตบอลเข้าสู่ยุคใหม่เต็มตัว ยูโรปรับอีกจาก 8 ชาติสู่ 16 ชาติ และจาก 16 ชาติสู่ 24 ชาติ ตัวแทนจากฟากตะวันออกเริ่มทยอยกลับมาทวงพื้นที่ของตัวเองคืน ด้วยชื่อใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในสถานะความเป็นรัฐประเทศช่วงสงครามเย็น

รัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก โครเอเชีย สโลวีเนีย ลัตเวีย สโลวาเกีย นอร์ธมาซิโดเนีย และล่าสุด จอร์เจีย ที่ทำได้สำเร็จกับการเป็นหนึ่งในทีมที่เข้ารอบสุดท้าย

5 จาก 16 ชาติในยูโร 1996, 2004 และ 2012.. อัตราส่วน 1 ใน 3

4 จาก 16 ชาติในยูโร 2000 และ 2008.. อัตราส่วน 1 ใน 4

9 จาก 24 ชาติในยูโร 2016.. อัตราส่วน 1 ใน 2.6

8 จาก 24 ชาติในยูโร 2020.. อัตราส่วน 1 ใน 3

และ 11 จาก 24 ชาติในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ยูโร 2024 ครั้งนี้

คิดเป็นอัตราส่วนร่วม ๆ 1 ใน 2 หรือเกือบครึ่งหนึ่ง..

แอลเบเนีย โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก จอร์เจีย ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย และ ยูเครน

แน่นอนครับในเรื่องการลุ้นแชมป์ ฝั่งตะวันออกยังเป็นรองฟากตะวันตกอยู่เยอะ โครเอเชียที่เชิดหน้าชูตาที่สุดยังเป็นแค่เต็ง 9 อัตราจ่ายกรณีเป็นแชมป์สูงถึง 50 ต่อ แต่การยกพวกเข้าสู่รอบสุดท้ายเกือบ ๆ ครึ่งหนึ่งของจำนวนทีมทั้งหมดในคราวนี้ก็ถือเป็นทิศทางที่ดี

ยังมีอีกหลายทีมฟากตะวันออกที่รอวันเริ่มนับหนึ่งในศึกยูโร ลิทัวเนีย อาร์มีเนีย เบลารุส เอสโตเนีย คาซัคสถาน มอลโดวา หรือกระทั่ง บอสเนียฯ ที่เคยไปฟุตบอลโลกมาแล้วแต่กับศึกชิงแชมป์แห่งชาติสถิติยังเป็นศูนย์

รอดูผลงานของพวกเขาเหล่านั้นกันต่อไป

ยุโรปตะวันออกเอย ยุโรปตะวันออก..

ในวันนี้ไม่มีอีกแล้วความคลาสสิกแบบกรุ่น ๆ ด้วยบรรยากาศแห่งสงครามเย็นและสงครามแห่งสัญลักษณ์ ใครจะเจ๋งกว่ากันระหว่างข้ากับเอ็ง

เป็นอดีตให้เราได้หวนนึกถึงมันบ้างเป็นบางโอกาส แต่ชีวิตเดินหน้าต่อบนเส้นทางใหม่นานแล้ว เราได้แต่เก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้ในความทรงจำ..

UFA365 เว็บพนันออนไลน์

UFA365 เว็บพนันออนไลน์


สล็อต365 UFA365 แทงบอล365
UFA365 สมัครฟรี คลิ๊กเลย ➢ https://ufa365d.ibetauto.com/ufa365d/ufabet/register
สอบถามเพิ่มเติม 🆔 𝙇𝙄𝙉𝙀 : @ufa365d